พื้นที่ทัศนียภาพภูเขาเอ๋อเหมย์ ประเทศจีน













พื้นที่ทัศนียภาพภูเขาเอ๋อเหมย์ รวมทั้งพื้นที่ทัศนียภาพพระพุทธรูปเล่อชาน ตั้งอยู่ในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน ภูเขาเอ๋อเหมย์เป็นพุทธสถานที่สำคัญที่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น และเจริญสูงสุดในสมัยราชวงศ์ซ่ง ส่วนพระพุทธรูปเล่อชานนั้นเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่มากสลักอยู่บนผาที่เริ่มสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1256 (ค.ศ. 713) ถึงแม้จะอยู่กันต่างที่ แต่เขาเอ๋อเหมย์และพระพุทธรูปเล่อชานได้รับรวมลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "ภูมิทัศน์แห่งเขาเอ๋อเหมย์และพระพุทธรูปเล่อชาน"

ในสมัยโบราณ เมืองเล่อซานเป็นจุดบรรจบกันของแม่น้ำสามสาย ซึ่งมีกระแสน้ำไหลเชี่ยวกรากและอันตรายมาก โดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูร้อน กระแสน้ำไหลเชี่ยวยิ่งขึ้น เรือที่แล่นผ่านมักจะถูกคลื่นพลิกคว่ำและจม ผู้คนบนเรือก็เสียชีวิตด้วย การสร้างหลวงพ่อวัดหลิงหยูนข้างๆ แม่น้ำหนานหมิ่นจึงมีเจตนาเพื่อลดความเร็วของกระแสน้ำ ช่วยชีวิตผู้คน ได้เริ่มขึ้นมีการขอบริจาคเงินและแรงงานคน สร้างพระพุทธรูปปางนั่งองค์ใหญ่ คุ้มครองความสงบของแม่น้ำ
เนื่องจากเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ พื้นที่บริเวณนี้จึงมิได้ถูกพัฒนาหรือทำลายแต่อย่างใด ยังคงความเป็นธรรมชาติที่สมบูรณ์อยู่ดั้งเดิม ดังนั้นมรดกโลกแห่งนี้จึงมิได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม แต่เป็นประเภทผสมระหว่างวัฒนธรรมและธรรมชาติแทน
ภูเขาเอ๋อเหมย์และพระพุทธรูปเล่อชานได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 20 เมื่อปี พ.ศ. 2539 ที่เมืองเมรีดา ประเทศเม็กซิโก
ข้อมูลเพิ่มเติม -  ทัศนียภาพอันน่าตื่นตาตื่นใจของ พระพุทธรูปเล่อซาน” (乐山大佛) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผา และภูเขาเอ๋อเหมย (峨嵋山) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า ภูเขาง้อไบ๊ พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาที่ใหญ่ที่สุดในโลกองค์นี้ สูง 71 เมตร สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 713-803) ในนครเฉิงตู มณฑลเสฉวนทางใต้ของจีน อีกทั้งในปีนี้ นับว่าครบรอบปีที่ 20 ที่ถูก UNESCO บันทึกให้เป็นมรดกวัฒนธรรมโลกด้วย ในประเทศจีน ประวัติศาสตร์การสร้างพระพุทธรูปหินแกะสลักจะย้อนรอยถึงช่วงปลายสมัยตุงฮั่นหรือสมัยฮั่นตะวันออก (ราว 1,800 ปีก่อน ) คือพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่จากอินเดียเข้ามาจีน บริเวณตอนเหนือแม่น้ำหวงเหอ เริ่มมีการสร้างวัดถ้ำหิน นั่นคือรูปแบบสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนา ที่ขุดเจาะตามแนวหน้าผาภูเขาพร้อมๆ กับพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นในจีน ในสมัยราชวงศ์ต่อมา หลายพื้นที่ก็มีการขุดสร้างวัดถ้ำหินจำนวนมาก ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่โตอลังการด้วย



                                                                           ภาพที่ 3.2. เป็นภาพถ่ายพระพุทธรูปเล่อซานในระยะไกล





แหล่งอ้างอิง : http://www.tcjapress.com/2016/12/23/leshangiantbuddha/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แหล่งภูมิทัศน์จ่างอาน ประเทศเวียดนาม

พื้นที่คุ้มครองวาดีรุม ประเทศจอร์แดน

อะฮ์วารทางตอนใต้ของประเทศอิรัก